Get Adobe Flash player

โครงสร้างกลุ่มบริหารงบประมาณ

บทบาทและหน้าที่ของกลุ่มบริหารงบประมาณ

คณะกรรมการตรวจสอบการเงิน บัญชี และพัสดุ
ทำหน้าที่การตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ (เดือนละ 1 ครั้ง)
1. การรับเงิน
   1.1 ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินกับทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน ว่ามีใบเสร็จครบถ้วนตามทะเบียนหรือไม่
   1.2 ตรวจต้นขั้วใบเสร็จรับเงิน ทั้งเงินบำรุงการศึกษา และเงินนอกบำรุงการศึกษา ว่าปฏิบัติถูกต้องด้วยระเบียบหรือไม่
    1.3 ตรวจการนำส่งเงินไว้เกินอำนาจหรือไม่
    1.4 มีการเก็บรักษาเงินของโรงเรียนปฏิบัติอย่างไร ถูกต้องหรือไม่
2. การจ่ายเงิน
    2.1 ตรวจการจ่ายเงินในใบสำคัญคู่จ่าย และใบสำคัญคู่จ่ายถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
    2.2 ตรวจใบเบิกจ่ายภายในโรงเรียนว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
    2.3 การจ่ายเงินนอกบำรุงการศึกษา เช่น เงินลูกเสือ เงินยุวกาชาด และเงินบริจาค ว่าจ่ายไปตรงตามวัตถุประสงค์และต้องด้วยระเบียบการจ่ายเงินหรือไม่
3. การบัญชีและทะเบียน
    3.1 สมุดเงินสด ว่ามีการลงรายการรับรายการจ่ายตรงตามหลักฐานข้อเท็จจริงหรือไม่ ลงบัญชีเงินสด       เป็นปัจจุบันหรือไม่
    3.2 ตรวจทะเบียนรับเงินบำรุงการศึกษารายบุคคล ตรวจดูว่าการลงทะเบียนลงตรงตามใบเสร็จรับเงินหรือไม่ ตรวจเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับเดือนที่สิ้นปีการศึกษา ตรวจว่านักเรียนค้างชำระเท่าไร ค้างเพราะอะไร มีใบเตือน และหรือมีสัญญาการผัดผ่อนชำระเงินหรือไม่ นักเรียนที่ค้างชำระเงินบำรุงการศึกษาโรงเรียนได้ออกใบสุทธิ ใบแสดงผลการเรียน (ปพ. )
     3.3  ตรวจทะเบียนจ่ายเงินบำรุงการศึกษา จำแนกตามหมวดงบประมาณ ดูการจำแนกประเภทรายจ่าย
ตามงบประมาณว่าปฏิบัติตามที่สำนักงานประมาณกำหนดไว้หรือไม่
     3.4 ตรวจการใช้เงินบำรุงการศึกษา เป็นไปตามแผนการใช้เงินในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนหรือไม่
     3.5 ตรวจทะเบียนต่างๆ เช่น ทะเบียนคุมเงินงบประมาณ ทะเบียนคุมเงินนอกงบประมาณทะเบียนคุมหลักฐานขอเบิก ทะเบียนคุมเอกสารแทนตัวเงิน และทะเบียนคุมรายได้แผ่นดินว่าปฏิบัติถูกต้องตามระบบบัญชี สำหรับหน่วยย่อยหรือไม่
     3.6 ตรวจบัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ ดูว่าของที่ซื้อมาด้วยเงินงบประมาณ เงินบำรุงการศึกษา และเงินนอกบำรุงการศึกษาลงบัญชี และทะเบียนครบถ้วนหรือไม่ พัสดุที่เบิกไปใช้มีใบเบิกพัสดุหรือไม่ และการปฏิบัติขั้นตอนถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
4. ตรวจสอบอย่างอื่น ๆ
    4.1 ตรวจการสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก และการสงเคราะห์นักเรียนขัดสน ว่าปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
     4.2 ตรวจการออกใบสุทธิ ใบแสดงผลการเรียน (ร.บ.) และใบรับรอง ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ    หรือไม่นักเรียนที่มาขอรับเกินกำหนด โรงเรียนเก็บค่าธรรมเนียม การมารับเกินกำหนดเวลา   เป็นไปตามระเบียบครบทุกคนหรือไม่
       4.3  ตรวจเงินพิเศษของโรงเรียน เช่น ค่าขายอาหารกลางวัน ค่าบำรุงการใช้สถานที่อื่นๆ ซึ่งไม่ถือว่า     เป็นเงินบำรุงการศึกษา ก็ให้ตรวจสอบภายในว่า มีการปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
       4.4  ตรวจรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และรายงานประเภทเงินคงเหลือดูว่ายอดเงินคงเหลือตรงกับ    ยอดคงเหลือในบัญชีรายวันเงินสด และทะเบียนคุมต่างๆ หรือไม่
       4.5 ตรวจเงินรับ เงินจ่าย และเงินคงเหลือในงบคงเหลือดูว่าถูกต้องตรงกับสมุดเงินสดและทะเบียน    คุมต่างๆ หรือไม่
       4.6  ตรวจสอบเงินอื่นใดที่โรงเรียนจัดให้มีขึ้น
       4.7  ตรวจสอบการส่งเงินเดือน ใบสำคัญรับเงินต่างๆ ว่าเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และถูกต้อง    ตามระเบียบหรือไม่
       4.8  ตรวจสอบเกี่ยวกับการก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณรายจ่ายถูกต้องตามระเบียบหรือไม่

 



คณะกรรมการตรวจสอบบัญชีและการเงินประจำวัน
ทำหน้าที่ตรวจสอบตามรายการดังต่อไปนี้ เป็นประจำวันเมื่อสิ้นวันทำการ
1. การรับเงิน
     1.1  ตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน กับทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงินว่ามีใบเสร็จรับเงินครบถ้วนตามทะเบียนหรือไม่ที่ได้ดำเนินการในวันนั้นๆ
     1.2 ตรวจขั้วใบเสร็จรับเงินบำรุงการศึกษา และเงินนอกบำรุงการศึกษาว่าปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ หรือไม่ ภายในวันนั้น
      1.3 ตรวจการนำเงินรายวันภายในโรงเรียนในวันนั้นๆ ว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
      1.4  มีการเก็บรักษาเงินไว้เกินจำนวนหรือไม่
      1.5 วิธีการเก็บรักษาเงินของโรงเรียนปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
2. การจ่ายเงิน
    2.1 ตรวจการจ่ายเงินในใบสำคัญจ่าย และใบสำคัญคู่จ่ายถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่
    2.2 ตรวจใบเบิกเงินภายในโรงเรียนว่าปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
    2.3 ตรวจความสมบูรณ์ของเอกสารแทนตัวเงินให้ถูกต้องตรงกับรายงานเงินคงเหลือประจำวันถ้ายอดคงเหลือในสมุดรายวันเงินสด เพื่อลงลายมือชื่อรับรองในรายงาน
3. การบัญชีและทะเบียน
    3.1 ตรวจบัญชีรายวันเงินสด ว่ามีการลงรายการรับ รายการจ่ายถูกต้องตามหลักฐานข้อเท็จจริงหรือไม่    ลงบัญชีเงินสดเป็นปัจจุบันหรือไม่ และถูกต้องตรงตามระบบบัญชีสำหรับหน่วยงานย่อยหรือไม่
    3.2 ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำวันและรายงานประเภทเงินคงเหลือ ดูว่ายอดเงินคงเหลือตรงกับยอดเงินคงเหลือในบัญชีเงินสดหรือไม่

 



รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.  ควบคุม ดูแล ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการกลุ่มบริหารงบประมาณ    
    1.  การจัดทำและเสนอของบประมาณ
         1.1  การวิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา
         1.2  การจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการศึกษา
         1.3  การวิเคราะห์ความเหมาะสมการเสนอของบประมาณ
    2.  การจัดสรรงบประมาณ
         2.1  การจัดสรรงบประมาณในสถานศึกษา
         2.2  การเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ
         2.3  การโอนเงินงบประมาณ
    3.  การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินงาน
         3.1 การตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
         3.2 การประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
    4.  การระดมทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา
         4.1  การจัดการทรัพยากร
         4.2 การระดมทรัพยากร
         4.3  การจัดหารายได้และผลประโยชน์    
         4.4  กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
         4.5  กองทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษา
    5.  การบริหารการเงิน
         5.1  การเบิกเงินจากคลัง
         5.2 การรับเงิน
           5.3  การเก็บรักษาเงิน
         5.4 การจ่ายเงิน
         5.5  การนำส่งเงิน
         5.6  การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
    6.  การบริหารบัญชี
                6.1  การจัดทำบัญชีการเงิน
                6.2  การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
                6.3  การจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
           7.  การบริหารพัสดุและสินทรัพย์
               7.1 การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา
               7.2 การจัดหาพัสดุ
               7.3 การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง
               7.4  การควบคุมดูแล บำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
2.  ควบคุมดูแลการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
3.  ควบคุมดูแลงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
4.  ควบคุมดูแลงานกิจกรรมสหกรณ์
5  ควบคุมดูแลงานสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ
6  ส่งเสริมการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบด้านต่างๆ ของกลุ่มบริหารงบประมาณ
7.  ควบคุมดูแลการจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
8  วางแผนดำเนินงานกลุ่มบริหารงบประมาณกำหนดวิธีการและติดตามผลการดำเนินงานให้เกิดผลดีต่อส่วนรวม
9.  ให้คำปรึกษา ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่มบริหารงบประมาณจนเกิดผลดีต่อส่วนรวม และสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรในฝ่ายฯ
10. วางแผนและจัดให้มีการรวบรวมข้อมูล สถิติ เกี่ยวกับงานบริหารงบประมาณและสินทรัพย์ ป้องกันแก้ปัญหาและนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
11.  อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 



หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ
มีหน้าที่รับผิดชอบในข่ายต่อไปนี้
1  รับแนวปฏิบัติจากรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณ  เพื่อกำกับดูแล ติดตามงานในสายงานที่รับผิดชอบ
2.  ควบคุมการปฏิบัติงานพัสดุ งานการเงิน บัญชี แผนงาน งานพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ งานระดมทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม   งานส่งเสริมสนับสนุนอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม (งานลูกจ้างประจำ) กิจกรรมสหกรณ์ งานสำนักงานบริหารงบประมาณ
3. ตรวจสอบงานด้านเอกสาร ควบคุมเอกสาร แบบพิมพ์ต่างๆ ของกลุ่มบริหารงบประมาณ
4. ประสานงานเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
5. จัดทำแฟ้มสะสมงาน เอกสาร บันทึกการมอบหมายและบันทึกผลงานเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาผลการปฏิบัติงานประจำปี
6. ปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ในกรณีที่รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณไม่อยู่
7. ร่วมวางแผนดำเนินงานโครงการต่างๆของกลุ่มบริหารงบประมาณ และกรรมการกลุ่มบริหารงบประมาณ 
8. วางแผนการจัดทำ จัดเก็บรักษาเอกสาร หนังสือคำสั่งต่างๆ ของกลุ่มบริหารงบประมาณอย่างเป็นระบบ และถูกต้อง
9. ร่วมมือและประสานงานกับบุคลาการในฝ่าย และฝ่ายอื่นๆ เพื่อดำเนินการไปตามเป้าหมาย
10. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของกลุ่มบริหารงบประมาณ
11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 



งานสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ
1.งานสารบรรณกลุ่มบริหารงบประมาณ
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
     1.1  จัดทำแผนพัฒนางาน/โครงการ แผนปฏิบัติราชการและปฏิทินงานเสนอรองกลุ่มบริหารงบประมาณ 
     1.2  จัดหา  จัดซื้อทรัพยากรที่จำเป็นในสำนักงานกลุ่มบริหารงบประมาณ
     1.3  จัดทำทะเบียนรับ – ส่ง หนังสือราชการ โดยแยกประเภทของเอกสารและหนังสือของกลุ่มบริหารงบประมาณ ให้เป็นหมวดหมู่มีระบบการเก็บเอกสารที่สามารถค้นหาเรื่องได้อย่างรวดเร็ว
     1.4  โต้ตอบหนังสือราชการ  ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร  หลักฐานให้ถูกต้องตามระเบียบของงานสารบรรณอย่างรวดเร็วและทันเวลา
     1.5  จัดส่งหนังสือราชการ  เอกสารของกลุ่มบริหารงบประมาณ ให้งานที่รับผิดชอบและติดตามเรื่องเก็บคืนจัดเข้าแฟ้มเรื่อง
    1.6  จัดพิมพ์เอกสารและจัดถ่ายเอกสารต่าง ๆ ของกลุ่มบริหารงบประมาณ เช่น บันทึกข้อความ    แบบสำรวจแบบสอบถาม แบบประเมินผลงานระเบียบและคำสั่ง
     1.7  ประสานงานด้านข้อมูลและร่วมมือกับกลุ่มบริหารงานต่าง ๆ ในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและร่วมมืออันดีต่อกันในการดำเนินงานตามแผน
     1.8  ประเมินผลและสรุปรายงานผลปฏิบัติราชการประจำปี
     1.9  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


2.งานพัสดุกลุ่มบริหารงบประมาณ
      2.1  ประสานงานในกลุ่มบริหารงบประมาณ วางแผน จัดซื้อ จัดหาวัสดุ  ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการซ่อมแซมอาคารสถานที่ สาธารณูปโภคและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ชำรุด  โดยประสานงานกับพัสดุโรงเรียน   
      2.2  จัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุ  ยืมวัสดุให้ถูกต้องมีระบบและเป็นปัจจุบัน
      2.3  จัดทำระเบียบ  แนวปฏิบัติ แบบรายงาน  แบบฟอร์มต่าง ๆ  ที่จำเป็นในการให้บริการปรับซ่อม
      2.4  ติดตามการปรับซ่อมและบำรุงรักษาสภาพวัสดุ  ครุภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
      2.5  ประเมิน สรุปผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษาและรายงานต่อผู้เกี่ยวข้อง
      2.6  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


3.งานสารสนเทศกลุ่มบริหารงบประมาณ
       3.1  วางแผนงาน/โครงการ และจัดทรัพยากรที่ใช้ในงานสารสนเทศของกลุ่มบริหารงบประมาณ
       3.2  ประสานงานด้านความร่วมมือเกี่ยวกับข้อมูลกับงานต่าง ๆ ในกลุ่มบริหารงบประมาณเพื่อรวบรวมและจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องเหมาะสมและทันสมัยที่จะบ่งบอกถึงสภาพปัญหาความต้องการ
       3.3  รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของโรงเรียน  เกณฑ์การประเมินมาตรฐานแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
      3.4  จัดทำเอกสารเผยแพร่ข้อมูลให้งานในฝ่ายได้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนางานในฝ่ายต่อไป
      3.5  ร่วมมือกับสารสนเทศของโรงเรียน  เผยแพร่งานของกลุ่มบริหารงบประมาณ
      3.6  ประเมิน สรุป รายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา
      3.7  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย


4.งานแผนงานกลุ่มบริหารงบประมาณ
     4.1  ประสานงานจัดทำแผนพัฒนางาน  แผนปฏิบัติราชการ/โครงการ ปฏิทินปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงบประมาณ เสนอผู้บริหารเพื่อจัดสรรงบประมาณ
      4.2  พิจารณาจัดแผนงาน/โครงการของกลุ่มบริหารงบประมาณให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและเกณฑ์ประเมินมาตรฐานและการปฏิรูปการศึกษา
     4.3  กำกับ  ตรวจสอบดูแลงาน/โครงการ  ให้เกิดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
     4.4  ประสานงานกับแผนงานของโรงเรียนและกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มต่าง ๆ เพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ
     4.5  ประเมิน สรุป รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
     4.6  ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย



งานการเงิน
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.  เบิกจ่ายและอนุมัติงบประมาณ    
      1.1  จัดทำแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส โดยกำหนดปฏิบัติงานรายเดือนให้เป็นไปตามผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แล้วสรุปแยกเป็นรายไตรมาส เป็นงบบุคลากร งบอุดหนุน   งบลงทุน (แยกเป็นค่าครุภัณฑ์ และค่าก่อสร้าง) และงบดำเนินการ (นโยบายพิเศษ)
      1.2   เสนอแผนการใช้งบประมาณวงเงินรวมเพื่อขออนุมัติเงินประจำงวดเป็นรายไตรมาสผ่านเขตพื้นที่การศึกษาไปยังคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรวบรวมเสนอต่อสำนักงบประมาณ    
      1.3  เบิกจ่ายงบประมาณประเภทต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี และอนุมัติการใช้     งบประมาณการศึกษาตามประเภทและรายการตามที่ได้รับงบประมาณ
2.  โอนเงินงบประมาณให้เป็นไปตามขั้นต้นและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
3.  การบริหารการเงิน    
     3.1 เบิกจากคลัง การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน การโอนเงิน การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
4. งานการเงินงบประมาณ  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ดังนี้    
     4.1 รับผิดชอบเกี่ยวกับเงินงบประมาณ
     4.2 ประสานงานเรื่องเงินกับหน่วยงานต่างๆ
     4.3 เบิกจ่ายเงินเดือนครู และลูกจ้างประจำ
     4.4 เบิกจ่ายเงินค่าช่วยเหลือบุตร
     4.5 เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านครู 
     4.6  ทำหลักฐานเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
     4.7 จัดการโอนเงินเดือน, เงินช่วยเหลือบุตร, เงินสวัสดิการการศึกษาบุตร, เงินสวัสดิการการ        รักษาพยาบาล, เงินค่าเช่าบ้าน ฯลฯ ของครู ลูกจ้างประจำ เข้าธนาคารเพื่อให้บุคลากรรับเงิน ทางธนาคาร
     4.8  ดำเนินเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปีของข้าราชการครูและแจกแบบชำระเงิน ให้แก่ บุคลากรทุกคน
     4.9  เป็นที่ปรึกษาของรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ ในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ
    4.10  จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานของงานการเงินโรงเรียน
5.  งานการเงินนอกงบประมาณ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ดังนี้
     5.1  รับผิดชอบเงินรายได้สถานศึกษา
     5.2   รับ – จ่าย เงินรายได้สถานศึกษา
     5.3  ควบคุมการเบิกจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงาน
     5.4  รับ , ส่ง เงินหักภาษี ณ ที่จ่าย
     5.5  ส่งเงินที่เป็นรายได้แผ่นดิน
     5.6  ตรวจความถูกต้องของรายงานการเดินทางไปราชการและควบคุมการเบิกจ่ายอย่างประหยัด
     5.7  ติดตามทวงถามใบสำคัญคู่จ่ายจากหน่วยงานต่างๆ 
     5.8  ควบคุมการยืมเงินรายได้สถานศึกษาให้เป็นไปตามสัญญาการยืมเงิน
     5.9  จ่ายค่าจ้างชั่วคราว
     5.10 ทำสมุดคุมการจ่ายเงินกระแสรายวัน
     5.11 ทำสมุดคุมการรับ – จ่าย เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
     5.12  งานเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรให้
6.  การจัดทำรายงานการเงินและงบการเงิน 
    6.1   จัดทำรายงานประจำเดือนส่งหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกรมบัญชีกลาง ในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยจัดทำรายงานรายได้แผ่นดิน รายงานรายได้และค่าใช้จ่ายรายงานเงินประจำงวด
     6.2  จัดทำรายงานประจำปี โดยจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานทาง            การเงินงบกระแสเงินสดจัดทำโดยวิธีตรง จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน และจัดส่งรายงานประจำปี ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านเขตพื้นที่การศึกษา และจัดส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และกรมบัญชีกลางตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด
      6.3  การจัดและจัดหาแบบพิมพ์ขึ้นใช้เอง เว้นแต่เป็นแบบพิมพ์กลางที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือ หน่วยงานต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
7.  ประสานการทำงานของแผนกการเงิน
8.  ออกใบเสร็จรับเงินรายได้สถานศึกษา
9.  เป็นที่ปรึกษาของรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ
6.  งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 



งานบัญชี
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.จัดทำบัญชีการเงิน
     1.1  ตั้งยอดบัญชีระหว่างปีงบประมาณ ทั้งการตั้งยอดภายหลังการเปิดบัญชีงบประมาณปีก่อน   และ                   การตั้งยอดก่อนการปิดบัญชีงบประมาณปีก่อน
     1.2  ปรับปรุงบัญชีเงินงบประมาณ โอนปิดบัญชีเงินนอกงบประมาณเข้าบัญชีทุน และบัญชีเงินรับฝาก และเงินประกัน ตั้งยอดบัญชีสินทรัพย์ที่เป็นบัญชีวัสดุ หรือบัญชีสินค้าคงเหลือ และบัญชีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน พร้อมทั้งจัดทำใบสำคัญการลงบัญชีทั่วไป โดยใช้จำนวนเงินตามรายการหลังการปรับปรุง
      1.3  บันทึกเปิดบัญชีคงค้าง (พึงรับพึงจ่าย : Accrual Basis) โดยบันทึกรายการด้านเดบิตในบัญชีแยก                   ประเภท (หนี้สิน ทุน รายได้) 
      1.4  บันทึกบัญชีประจำวันให้ครอบคลุมการรับเงินงบประมาณการรับรายได้จากการขายสินค้า หรือ                   การให้บริการ การรับเงินรายได้ การจ่ายเงินงบประมาณ การจ่ายเงินงบประมาณให้ยืม การจ่ายเงินนอกงบประมาณให้ยืม การซื้อวัสดุ หรือสินค้าคงเหลือ เงินทดรองจ่าย เงินมัดจำ และค่าปรับ รายได้จากเงินกู้ของรัฐ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การรับเงินบริจาค การรับเงินรายได้แผ่นดิน การถอนเงินรายได้แผ่นดิน กรเบิกเงินงบประมาณแทนกัน การจ่ายเงินให้หน่วยงานที่ปฏิบัติตามระบบการควบคุมการเงิน การรับเงินความผิดทางละเมิด
      1.5  สรุปรายการบันทึกบัญชีทุกวันทำการ สรุปรายรับ หรือรายจ่ายผ่านไปบัญชีแยกประเภท เงินสด                    เงินฝากธนาคาร และเงินฝากคลัง สำหรับรายการอื่น และรายการในสมุดรายวันทั่วไปให้ผ่าน รายการเข้าบัญชีแยกประเภท ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน  
      1.6  ปรับปรุงบัญชีเมื่อสิ้นปีงบประมาณ โดยปรับรายการบัญชีรายได้จากงบประมาณค้างรับ    ค่าใช้จ่าย/รับ ที่ได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า/ รายได้ค้างรับ วัสดุหรือสินค้า ที่ใช้ไประหว่างงวดบัญชี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ
      1.7  ปิดบัญชีรายได้ และค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีรายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีและ                   ปิดรายการได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายงวดบัญชีสูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม แล้วให้โอนบัญชีรายได้แผ่นดินนำส่งคลังเข้าบัญชีรายได้แผ่นดิน หากมียอดบัญชีคงเหลือให้โอนเข้าบัญชีรายได้แผ่นดินรอนำส่งคลัง
        1.8  ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสด และเงินฝากธนาคารตามรายงานคงเหลือประจำวัน และ                  งบพิสูจน์ยอดฝากธนาคาร ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีแยกประเภททั่วไป และการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีย่อยและทะเบียน
         1.9  แก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกรายการผิดบัญชี จากการที่เขียนข้อความผิดหรือตัวเลขผิดจากการบันทึกตัวเลขผิดช่องบัญชีย่อยแต่ยอดรวมถูก โดยการขีดฆ่าข้อความ หรือตัวเลขผิดลง   ลายมือชื่อย่อกำกับ พร้อมวัน เดือน ปี แล้วเขียนข้อความหรือตัวเลขที่ถูกต้อง


2.งานอื่นๆ ทีได้รับมอบหมาย
งานพัสดุและสินทรัพย์
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การบริหารพัสดุและสินทรัพย์การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา
     1.1 ตั้งคณะกรรมการหรือบุคลากรขึ้นสำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างทั้งหมดเพื่อทราบสภาพการใช้งาน
      1.2 จำหน่าย บริจาค หรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามระเบียบในกรณีที่หมดสภาพหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์
      1.3  จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน ทั้งที่ซื้อหรือจัดหาจาก เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนที่ได้จากการบริจาคที่ยังไม่ได้บันทึกคุมไว้โดยบันทึกทะเบียนคุมราคา วันเวลาที่ได้รับสินทรัพย์
      1.4 จดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุสำหรับที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างในกรณีที่ยังไม่ดำเนินการ และที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ประสานกับกรมธนารักษ์ หรือสำนักงานธนารักษ์จังหวัดเพื่อดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน และให้จัดทำทะเบียนคุมในส่วนของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน
       1.5 จัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินของสถานศึกษา ซึ่งอาจใช้โปรแกรมระบบทะเบียนคุมสินทรัพย์ก็ได้ ถ้าสถานศึกษามีความพร้อม
       1.6 จัดทำระเบียบการใช้ทรัพย์สินที่เกิดจากการจัดการของสถานศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
2. การจัดหาพัสดุ
     2.1  วิเคราะห์แผนงาน งาน/โครงการ ที่จัดทำกรอบรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เพื่อตรวจดูกิจกรรมที่ต้องใช้พัสดุที่ยังไม่มีตามทะเบียนคุมทรัพย์สิน และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานกลาง
       2.2 จัดทำแผนระยะปานกลางและจัดหาพัสดุทั้งในส่วนที่สถานศึกษาจัดหาเอง และร่วมมือกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นจัดหา
3.  การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง
      3.1 จัดทำเอกสารแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างในกรณีที่เป็นแบบมาตรฐาน
      3.2 ตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือแบบรูปรายการในกรณีที่ไม่เป็นแบบมาตรฐาน โดยดำเนินการไปตามระเบียบ
       3.3  จัดซื้อจัดจ้าง โดยตรวจสอบงบประมาณ รายละเอียด เกณฑ์ คุณลักษณะเฉพาะ ประกาศ จ่าย/ขายแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะ พิจารณาซองโดยคณะกรรมการ จัดทำสัญญาและเมื่อตรวจรับงานให้มอบเรื่องแก่เจ้าหน้าที่การเงินฏีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายแก่ผู้ขาย/ผู้จ้าง
4. การควบคุม บำรุงรักษา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
     4.1 จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน
     4.2 กำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน
     4.3 กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บควบคุม และเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระบบและแต่งตั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีอย่างสม่ำเสมอทุกปี
     4.4 ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาและซ่อมแซมทั้งก่อนและหลังการใช้งานสำหรับทรัพย์สินที่มีสภาพไม่สามารถใช้งานได้ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและทำจำหน่าย หรือขอรื้อถอนกรณีเป็นสิ่งปลูกสร้าง
     4.4  จัดทำทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์ ทั้งหมดของโรงเรียน
     4.5  ลงทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์ ทั้งหมดของโรงเรียน
     4.6  ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดซ่อม พัสดุครุภัณฑ์
     4.7  ดำเนินการเบิก จ่าย วัสดุสำนักงานให้หน่วยงานต่างๆ
     4.8  เป็นที่ปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานอื่นๆ
     4.9.  บำรุง รักษา พัสดุ ครุภัณฑ์
     4.10  ดำเนินการรายงานพัสดุคงเหลือประจำปีตามระเบียบ
     4.11  ดำเนินการของอนุญาตจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์
     4.12  เป็นที่ปรึกษาของรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารงบประมาณในเรื่องพัสดุครุภัณฑ์
5. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 



งานแผนงาน
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การจัดและเสนอของบประมาณ
     1.1 การวิเคราะห์ และพัฒนานโยบายทางการศึกษา
          1.1.1 วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา ได้แก่ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         1.1.2 ศึกษาข้อตกลงผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายการให้บริการสาธารณะทุกระดับ ได้แก่เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ (Public Service Agreement : PSA) ข้อตกลงการจัดทำผลผลิต (Service Delivery Agreement : SDA) ข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่ และผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุข้อตกลงที่สถานศึกษาทำกับเขตพื้นที่การศึกษา
        1.1.3 ศึกษาวิเคราะห์ การจัดและพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาตามกรอบทิศทางของเขตพื้นที่การศึกษา และตามความต้องการของสถานศึกษา
        1.1.4 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามข้อตกลงที่ทำกับเขตพื้นที่การศึกษา ด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา ตลอดจนต้นทุน ซึ่งต้องคำนวณต้นทุนผลผลิตขององค์กร และผลผลิตงาน/โครงการ
        1.1.5 ร่วมกับงานพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ (สารสนเทศ) จัดทำข้อมูลสารสนเทศผลการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
        1.1.6 เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้เขตพื้นที่การศึกษา และสาธารณะชนรับทราบ
  1.2  การวิเคราะห์ความเหมาะสมการเสนอของบประมาณ
        1.2.1  จัดทำรายละเอียดแผนงบประมาณ แผนงาน งานโครงการ ให้มีความเชื่อมโยงกับผลผลิตและผลลัพธ์ ตามตัวชี้วัดความสำเร็จของสถานศึกษา พร้อมกับวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน งานโครงการ เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการจัดตั้งงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการ
        1.2.2  จัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง (Medium Term Expenditure Framework : MTEF) โดยวิเคราะห์นโยบายหน่วยเหนือที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วิเคราะห์ผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมาของสถานศึกษา เพื่อปรับเป้าหมายผลผลิตที่ต้องการดำเนินการใน 3 ปีข้างหน้า พร้อมกับปรับแผนงาน งานโครงการ และกิจกรรมหลัก ให้สอดคล้องกับประมาณรายได้ของสถานศึกษาทั้งจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ
       1.2.3  จัดทำคำขอรับงบประมาณของสถานศึกษา และกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง (MTEF) เสนอต่อเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องเชิงนโยบาย        1.2.4  จัดทำร่างข้อตกลงบริการผลผลิต (ร่างข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน) ของสถานศึกษาที่จะต้องทำกับเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อได้รับงบประมาณ โดยมีเป้าหมายการให้บริการที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

 

2. การจัดสรรงบประมาณ
     2.1 การจัดสรรงบประมาณภายในสถานศึกษา
           2.1.1 จัดทำข้อตกลงบริการผลผลิตของสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อได้รับงบประมาณ      
           2.1.2  ศึกษาข้อมูลการจัดสรรงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแจ้งผ่านเขตพื้นที่การศึกษา แจ้งให้สถานศึกษาทราบในเรื่องนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการจัดสรรงบประมาณ
           2.1.3  ตรวจสอบกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรที่เขตพื้นที่การศึกษาแจ้ง ตลอดจนตรวจสอบวงเงินนอกงบประมาณที่ได้จากแผนการระดมทรัพยากร    
           2.1.4  วิเคราะห์กิจกรรมตามภารกิจงานที่จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานโครงสร้างสายงาน และตามแผนงาน งานโครงการของสถานศึกษา เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดงบประมาณ ทรัพยากรของแต่ละสายงาน งานโครงการ ให้เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับ และวงเงินนอกงบประมาณตามแผนระดมทรัพยากร
          2.1.5  ปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง (MTEF) ให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินที่ได้รับ
          2.1.6  จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ซึ่งระบุแผนงานโครงการที่สอดคล้องวงเงินงบประมาณที่ได้รับและวงเงินนอกงบประมาณที่ได้รับตามแผนระดมทรัพยากร
         2.1.7  จัดทำข้อร่างตกลงผลผลิตของหน่วยงานภายในสถานศึกษา และกำหนดผู้รับผิดชอบ
         2.1.8  นำเสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และร่างข้อตกลงผลผลิตขอความเห็นชอบคณะกรรมการสถานศึกษา
         2.1.9  แจ้งจัดสรรวงเงินและจัดทำข้อตกลงผลผลิตให้หน่วยงานภายในสถานศึกษารับไปดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ

 

3. การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
     3.1 การตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน           
           3.1.1  จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส
           3.1.2  จัดทำแผนการกำกับตรวจสอบติดตามและป้องกันความเสี่ยงสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
           3.1.3  ประสานแผนและดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และนิเทศให้เป็นไปตามแผนตรวจสอบ ติดตามของสถานศึกษา โดยเฉพาะโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
           3.1.4  จัดทำข้อสรุปผลการตรวจสอบ ติดตาม และนิเทศพร้อมทั้งเสนอข้อปัญหาที่อาจทำให้การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จ
           3.1.5  รายงานผลการดำเนินการตรวจสอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
           3.1.6  สรุปข้อมูลสารสนเทศที่ได้และจัดรายงานข้อมูลการใช้งบประมาณผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นรายไตรมาสต่อเขตพื้นที่การศึกษา
       3.2 ประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
             3.2.1 กำหนดปัจจัยหลักความสำคัญ และตัวชี้วัด (Key Performance lndicators:KPls) ของสถานศึกษา
             3.2.2 จัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของผลิตที่กำหนดตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา
             3.2.3 สร้างเครื่องมือเพื่อการประเมินผล ผลผลิตตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา
             3.2.4 ประเมินแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา และจัดทำรายงานประจำปี
              3.2.5 รายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา


4. งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
งานระบบควบคุมภายใน
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.  วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาตามโครงสร้างและภารกิจสถานศึกษา
2.  วิเคราะห์ความเสี่ยงของการดำเนินงาน กำหนดปัจจัยเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง
3. กำหนดมาตรการในการป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินงานของสถานศึกษา
4.  วางแผนการจัดระบบการควบคุมภายในสถานศึกษา
5.  ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนำมาตรการป้องกันความเสี่ยงไปใช้ในฝ่ายการควบคุมการ     ดำเนินงานตามภารกิจ
6.  ดำเนินการควบคุมตามหลักเกณฑ์มาตรการและวิธีการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
7.  ประเมินผลการดำเนินการควบคุมภายใน ตามมาตรการที่กำหนดและปรับปรุงให้เหมาะสม
8.  รายงานผลการประเมินการควบคุมภายใน
9.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 



งานสวัสดิการการเงิน
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในการจัดสวัสดิการภายในโรงเรียน
2. เผยแพร่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการภายในโรงเรียน
3. กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการภายในโรงเรียน
4. จัดสวัสดิการด้านขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรในโรงเรียน
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 



งานระดมทรัพยากร
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภายในสถานศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ทราบรายงานสินทรัพย์ของสถานศึกษาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2. วางระบบการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
3. สนับสนุนให้บุคลากร และสถานศึกษาร่วมมือกันใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

 



งานวางแผนอัตรากำลัง และการกำหนดตำแหน่ง
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. วางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
2.  การวิเคราะห์และวางแผนอัตรากำลังคน
3. การกำหนดตำแหน่ง
4. การขอเลื่อนตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาและวิทยฐานะข้าราชการครู

 



งานสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ลาออก 
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้ 
1.  การสรรหาบรรจุและแต่งตั้ง  ดำเนินการโดยผู้อำนวยการ
2. ดำเนินการสรรหาเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  กรณีได้รับมอบอำนาจจาก  อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
3.  การจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
4. การแต่งตั้ง  ย้าย  โอน  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. การบรรจุกลับเข้ารับราชการ
6. การรักษาราชการแทน
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย..

 



งานทะเบียนประวัติ และบำเหน็จความชอบ
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้ 
1. ดูแลงานทะเบียนประวัติ
       1.1 จัดทำและจัดเก็บรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  และลูกจ้าง
       1.2 การแก้ไข  วัน เดือน ปีเกิด  ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง


2. ดูแลงานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
       2.1 ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน  สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
       2.2 ดำเนินการในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
       2.3 จัดทำทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์  และผู้คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

3. ดูแลการขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ


4. การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
             4.1 การเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติและกรณีพิเศษ  ดำเนินการโดยผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  แล้วคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบตามกฎ  ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
              4.2 ดำเนินการโดยผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  กรณีสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ต้องชี้แจงเหตุให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวทราบ  กรณีเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รายงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อดำเนินการหลักเกณฑ์และวิธีการที่  ก.ค.ศ.กำหนด  รายงานการสั่งเลื่อนและไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อจัดเก็บข้อมูลลงในทะเบียนประวัติต่อไป
             4.3  การเลื่อนขั้นกรณีถึงแก่ความตาย  อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  โดยแจ้งชื่อผู้ตายและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการตายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติราชการ  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  เพื่อดำเนินการขอความเห็นชอบไปยังคณะรัฐมนตรี  ปฏิบัติหน้าที่โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ตายเป็นกรณีพิเศษ  เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ  และรายงานผลการดำเนินการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไป


5. การเพิ่มค่าจ้างลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว


6. ดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีถือจ่ายเงินเดือน(คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน)


7. ดูแลเรื่องเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนอื่นๆ


8. ดูแลงานขอหนังสือรับรอง  งานขออนุญาตให้ข้าราชการไปต่างประเทศ  งานขออนุญาตอุปสมบท  งานขอพระราชทานเพลิงศพ  การลาศึกษาต่อ  ยกย่องเชิดชูเกียรติและให้ได้รับเงินวิทยพัฒน์  และการจัดสวัสดิการ  ดำเนินการตามกฎหมาย  ระเบียบ  หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้อง


9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

 



งานพัฒนาบุคลากร
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1. การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
        1.1 โดยการพัฒนาก่อนการมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่  โดยจัดให้มีการปฐมนิเทศแก่ผู้ที่ได้รับการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  แจ้งภาระงานตามมาตรฐานคุณภาพงาน  มาตรฐานวิชาชีพ  จรรยาบรรณวิชาชีพ  เกณฑ์การประเมินผลงาน  และมีการติดตาม  ประเมินผลและจัดให้มีการพัฒนาตามความเหาะสมอย่างต่อเนื่อง
         1.2  การพัฒนาระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  โดยมีการศึกษาวิเคราะห์  ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา  มีการกำหนดหลักสูตรการพัฒนาแผน/โครงการพัฒนาบุคลากรดำเนินการพัฒนา  ติดตามประเมินผล  และรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารสถานศึกษา
          1.3  การพัฒนาก่อนเลื่อนตำแหน่ง  โดยการศึกษาวิเคราะห์  คุณลักษณะเฉพาะสำหรับตำแหน่ง  ลักษณะงานตามตำแหน่งที่ได้รับการปรับปรุงกำหนดตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  จัดส่งเสริมหรือดำเนินการอบรมเพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  เจตคติ  คุณธรรมจริยธรรม  และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม   มีการติดตามและประเมินผลการพัฒนา
2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
งานวินัยและการรักษาวินัย
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.  ดูแลเรื่องวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง  ดำเนินการโดยผู้อำนวยการโรงเรียน  ในกรณีต่อไปนี้
        1.1  กรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
         1.2  กรณีความผิดวินัยร้ายแรง
         1.3  การอุทธรณ์
         1.4  การร้องทุกข์
2.  การเสริมสร้างและการป้องกันการกระทำผิดวินัย  ดำเนินการโดยผู้อำนวยการสถานศึกษา
           2.1  ผู้บริหารแต่ละระดับ  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
            2.2  ดำเนินการให้ความรู้  ฝึกอบรม  การสร้างขวัญและกำลังใจ  การจูงใจ ฯลฯ ในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒนาเจตคติ  จิตสำนึก  และพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา
              2.3 สังเกต  ตรวจสอบ  ดูแล  เอาใจใส่  ป้องกันและขจัดเหตุเพื่อมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยตามควรแก่กรณี

 



งานรักษาความปลอดภัย
มีหน้าที่รับผิดชอบในขอบข่ายต่อไปนี้
1.  ดูแลเรื่องการรักษาเวรยามกลางวันของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง
2.  ดูแลเรื่องการรักษาเวรยามกลางคืนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้าง
3.  ดูแลและดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับครูเวรประจำวัน  ในวันทำการ  และการปฏิบัติหน้าที่ของครูเวรประจำวัน
4. จัดให้มีผู้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่เวรยามเพื่อควบคุมดูแลการอยู่เวรยามอย่างต่อเนื่อง
5. ติดตามผลการอยู่เวรยามและสรุปผลงานทุกภาคเรียนเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

You have no rights to post comments